เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 11.โกธนสูตร
มีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มีมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต1ก็จริง แต่คน
เหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นไปห่างไกล
นี้เป็นธรรมประการที่ 6 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
7. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูไปสู่สุคติ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ ประพฤติทุจริต
ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นธรรม
ประการที่ 7 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 7 ประการนี้แล ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมา
ถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
บุคคลผู้มักโกรธนั้น
มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์
ได้ความเจริญแล้ว ก็ยังถึงความเสื่อม
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา
ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์

เชิงอรรถ :
1 อำมาตย์ หมายถึงเพื่อนที่รักกันมาก (สุหัชชา) สามารถปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกโอกาส
ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและ
เครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา
สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่ หรือตา ย่า หรือยาย บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว (เทียบ องฺ.ติก.อ. 2/76/227, องฺ.ทสก.อ. 3/71/358, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/71-
74/425)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :127 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 11.โกธนสูตร
บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ
ย่อมถึงความเสื่อมยศ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธ
ความโกรธก่อความเสียหาย
ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม
ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด
ความมืดย่อมมีในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว
เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยาก1ก่อน
เหมือนไฟแสดงควันก่อน
ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด
คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ
บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อย
กรรมเหล่าใดห่างไกลจากธรรม เป็นเหตุให้เดือดร้อน
เราจักบอกกรรมเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ

เชิงอรรถ :
1 ความเก้อยาก ในที่นี้หมายถึงความทุศีล อาการที่ล่วงละเมิดสิกขาบท โดยไม่รู้สึกละอาย ไม่ยอมรับ ทั้งยัง
รุกรานสงฆ์ว่า ‘ท่านเห็น ท่านได้ยินหรือว่าข้าพเจ้าทำผิดอะไร พวกท่านยกอาบัติอะไรขึ้นปรับข้าพเจ้า’
(เทียบ องฺ.ทสก.อ. 3/31/342)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :128 }